Sanipro (Thailand) Co., Ltd.

ซานิโปร มาตรฐานญี่ปุ่น,แม่นยำ,ซื่อสัตย์

อันตรายจาก “ผึ้ง”

อันตรายจาก “ผึ้ง” ผึ้ง จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่ ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีอุลต้าไวโอเลต สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 […]
Read more

แมลงเม่าป่วนเมือง

      ช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ จากฤดูร้อน เป็นฤดูฝน ทำให้แต่ละพื้นที่มีความชื้นเพิ่มขึ้นมากๆ หรือความกดอากาศเปลี่ยนไป แมลงเม่าซึ่งเป็นตัวเต็มวัยของปลวกมักออกมาจากรังเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ หลังจากนั้นมันจะสลัดปีกทิ้ง แล้วเข้าไปวางไข่ตามที่ต่าง ๆ เช่น ใต้ดิน ตามฝ้าเพดานบ้าน หรือบริเวณที่มีความชื้น อับทึบ เพื่อสร้างรังใหม่ ทำให้เกิดปัญหาปลวกบุกรุก ทำลายอาคารบ้านเรือนได้ ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวก ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปตามวรรณะต่าง ๆ รวม 3 วรรณะคือ วรรณะสืบพันธุ์ หรือแมลงเม่า ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีก มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และขยายพันธุ์ โดยจะบินออกจากรังเมื่อมีสภาพอากาศเหมาะสม จับคู่กันแล้วสลัดปีก ผสมพันธุ์ จากนั้นจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อวางไข่ เพศเมียที่แข็งแรงจะถูกเลือกให้เป็นราชินีปลวก มีหน้าที่วางไข่ ขยายปริมาณประชากรปลวกงาน ปลวกวรรณสืบพันธุ์ ปลวกนางพญา   วรรณะปลวกงาน เป็นปลวกตัวเล็กที่พบเห็นกันมาก โดยทั่วไปมีสีขาวนวล ไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึก ทำหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารมาป้อนราชินี ราชา ตัวอ่อนและทหาร ซึ่งจะไม่หาอาหารกินเอง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างรัง […]
Read more

ด้วงกระเบื้องเจ้าปัญหาในหน้าฝน

ด้วงกระเบื้องเจ้าปัญหาในหน้าฝน                        Common Name              :           Lesser mealworm, Litter Beetle                                                                         Scientific Name             :           Alphitobius diaperinus                                                                         Family                                :           Tenebrionidae                                                                         Order                […]
Read more

สายพันธุ์แมลงแปลก ๆ

สายพันธุ์แมลงแปลก ๆ แต่งดงาม ที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ขึ้นมา ในโลกนี้เต็มไปด้วยสัตว์หลากหลายสายพันธุ์ ทั้งงดงาม ทั้งแปลก และน่าหลงใหล ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นตามธรรมชาติ หนอนแก้ว อัญมณี Jewel Capterpillar เป็นผีเสื้อกลางคืน มีสีสันสดใส ตัวโปร่งแสง ภายนอกมีเมือก สามารถพบได้ที่แม็กซิโกไปจนถึงปานามา สีสันสวยงามของตัวหนอนมีไว้หลอกศัตรูว่ามันมีพาร้าย แต่ความจริงแล้วหนอนไม่ได้มีพฺษ แต่มีเมือกดเหนียวที่ด้านนอก เมื่อมดเข้ามากัดหนอนทำให้มดเหนียวติดหนึบกับหนอน เมื่อเป็นตัวเต็มวันจะกลายเป็นผีเสื้อกลางคืนที่มีขนสีส้ม ผีเสื้อปีกแก้ว เป็นสีเสื้อที่มีปีกโปร่งแสง เกิดจากเนื้อเยื่อของปีกระหว่างหลอดเลือดดำ มีลักษณะโปร่งใสเหมือนแก้วเพราะขาดเกล็ดสี ซึ่งไม่เหมือนกับผีเสื้อชนิดอื่นๆที่ปีกจะเป็นสีทืบ ขนาดปีก 5.6 – 6.1 เซนติเมตร (2.2 -2.4 นิ้ว) ขอบปีกจะทึบแสงมีสีน้ำตาลเข้มบางตัวอาจมีระบายด้วยสีแดงหรือสีส้ม ลำตัวจะมีสีทึบเข้ม แพร่กระจายตามป่าฝนเขตชื้น พบได้มากในแถบอเมริกาใต้ เช่นเม็กซิโก ปานามา โคลัมเบียผีเสื้อปีกแก้ว จะวางไข่บนพืชมีพิษในเขตร้อน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวจะเป็นหนอนสีเขียว หนอนผีเสื้อแก้วจะกินใบพืชที่มีพิษ สันนิฐานว่าอาจเพราะต้องการสะสมพิษจากใบพืชเพื่อป้องกันตัว หลีกเลี่ยงการถูกล่าจากมดกระสุน ในผีเสื้อปีกแก้วตัวเต็มวัยสันนิฐานว่าอาจจะมีพิษเช่นกัน เนื่องจากผีเสื้อเพศผู้หากินตามดอกไม้ที่มีสารอัลคาลอยด์ ซึ่งสารอัลคาลอยด์นี้จะถูกเปลี่ยนเป็นฟีโรโมนเพศโดยเพศผู้ เพื่อใช้ดึงดูดเพศตรงข้ามในการจับคู่ผสมพันธุ์ ด้วงเต่าทอง เป็นแมลงขนาดเล็ก มีขนาดลำตัวยาวเต็มที่เพียงแค่ […]
Read more

Fumigation

Fumigation Fumigation เป็นการใช้สารเคมีในรูปแบบแก๊สในการกำจัดแมลงและศัตรูพืช หรือแม้เเต่สัตว์พาหะรวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการโดยปล่อยสารรมให้สัมผัสกับสินค้าหรือพื้นที่ที่มีแมลงหรือสัตว์พาหะอาศัยอยู่ โดยอาศัยการควบคุมความเข้มข้นแก๊สและระยะเวลาที่เหมาะสม สารรมดังกล่าวต้องได้รับการอนุญาตและจดทะเบียนเป็นสารรมอย่างถูกต้องจากกรมวิชาการเกษตรของไทย โดยการเลือกใช้สารรมนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของประเภทสินค้าและเป้าหมายของการป้องกันกำจัด   ทำไมต้องรมยา เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงและแมลงศัตรูโรงเก็บในผลิตภัณฑ์และที่สำคัญคือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของแมลงหรือสัตว์รบกวนอื่นๆ ในพื้นที่จัดเก็บ หรือประเทศปลายทางของสินค้าส่งออก โดยคณะทำงานภายใต้อนุสัญญาสำหรับการอารักขาพืชระหว่างประเทศ หรือ ISPM (International Standards for Phytosanitary Measures) ได้จัดทำมาตรฐานมาตรการสุขอนามัยพืช ระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเป็นควบคุมในการค้าระหว่างประเทศให้ปราศจากศัตรูพืชและสัตว์รบกวน เป็นการจัดการให้อยู่ในมาตรฐานสากล จึงกำหนดให้สินค้าบางประเภทต้องได้รับการกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์รบกวนก่อนการส่งออกด้วยการรมยา การรมยาสามารถทำได้ที่ใดบ้าง  รมยากองสินค้า   รมยาไซโล   รมยาโครงสร้าง/อาคาร/คลังสินค้า   รมยาคอนเทนเนอร์  
Read more

แมลงหวี่

แมลงหวี่ เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ เป็นพาหะนำโรคที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณตามกองขยะ แหล่งอาหารเศษ เปลือกผลไม้ ผลไม้และผักที่เน่าเสีย ถังหมักน้ำผลไม้ อาหารหมักดอง น้ำเลี้ยงที่ออกจากแผลตามลําต้นของพืช และยังอาจพบได้ตามป่าเขา ริมถนนหนทางต่าง ๆ และตามบ้านเรือนด้วย แมลงหวี่แบ่งเป็น 3 ชนิด 1.แมลงหวี่ มีลำตัวเล็ก ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีเหลืองถึงน้ำตาลดำ ตามีขนาดใหญ่สีแดง กินอาหารจำพวกผัก และผลไม้ ชอบผลไม้ที่เน่าเสีย และที่มีราขึ้น 2.แมลงหวี่ตา เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ ขนาด 1.5-2.5 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลถึงดำ ตามีสีน้ำตาลขนาดใหญ่ กินอาหารจำพวกพืชผัก หรือผลไม้เน่าเปื่อย ขยะ อาหารสด เมือกและน้ำเหลืองของคนและสัตว์ 3.แมลงหวี่ขน เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ บริเวณปีกมีขนหรือขนผสมเกล็ดปกคลุม ปลายปีกเป็นมุมแหลม ตัวหนอนกินกากตะกอน วัตถุที่ตายและเน่าเปื่อยแล้วเป็นอาหาร ตัวเต็มวัยเพศเมียบางชนิดอาจกัดและดูดเลือดคน   วิธีการป้องกันแมลงหวี่  1.กับดักน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ : นำน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ผสมกับน้ำยาล้างจานใส่ลงไปในขวดเพื่อผสมกัน […]
Read more

ด้วงหนวดยาว (Longhorned beetle)

ด้วงหนวดยาว (Longhorned beetle) จัดอยู่ใน Family Cerambycidae ด้วงหนวดยาวมีลักษณะที่ใช้ในการจัดจำแนกคือ หนวด มีลักษณะหนวดแบบเส้นด้าย (Filiform) เรียวยาว ความยาวของหนวดจะมีลักษณะยาวเท่ากับลำตัว หรือบางชนิดยาวมากกว่าลำตัวเป็นสองเท่า หนวดจะยาวงุ้มไปทางด้านหลังเป็นลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัด จัดเป็นแมลงศัตรูสำคัญทางการเกษตรและป่าไม้ เพราะระยะตัวหนอนของด้วงหนวดยาวนั้นจะเจาะชอนไชกินเนื้อไม้ของต้นไม้ ตัวอย่างของด้วงหนวดยาว ด้วงหนวดยาวหนามจุดนูนดำ (Batocera rufomaculata) ด้วงชนิดนี้มีความยาวประมาณ 49-56 มม. มีสีน้ำตาล ส่วนด้านบนของปีกมีจุดสีเหลือง เพศเมียมีหนวดยาวเท่าๆกับ ขนาดลำตัวของมันเอง มีอายุประมาณ 4-6 เดือน และมักวางไข่ในช่วงเวลากลางคืน ไข่มีลักษณะคล้ายเม็ดข้าวข้าวสาร สามารถวางไข่ได้ถึง 200 ฟอง หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดยาว 8-10เซนติเมตร มีรยะหนอน 280 วัน จากนั้นจะเจาะเข้าเนื้อไม้แข็ง หดตัวและเข้าดักแด้จนออกมาเป็นตัวเต็มวัยจึงจะออกสู่ภายนอกได้ ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยจะกัดกินเปลือกของลำต้น จนกลายเป็นโพรง ส่งผลให้ท่อน้ำเลี้ยงถูกทำลายไปด้วยทำให้ต้นไม้ยืนต้นตายได้ ส่วนตัวหนอนกัดกินชอนไชอยู่ใต้เปลือกไม้และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกเป็นระยะ ๆ การป้องกันกำจัด วางกับดักแสงไฟช่วงเลา 1 ทุ่มเป็นต้นไป ใช้ตาข่ายถี่ พันหลวมๆไว้ที่บริเวณรอบลำต้น เพื่อป้องกันการวางไข่ของตัวเต็มวัย […]
Read more

มดแดง

มดแดง  มด เป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera  ในกลุ่มเดียวกับ ผึ้ง ต่อ และ แตน การเจริญเติบโต จะผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ มีวงจรชีวิต 4 ระยะ คือ  ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย  มดอยู่ในวงศ์ Formicidae ลักษณะเด่นที่ใช้ในการจำแนกมดได้แก่ หนวดแบบข้อศอก ( geneiculate )  และ เอว ( pedicel )  เอวของมด คือ ส่วนอกที่ลดรูป มดแต่ละวงศ์อาจมีส่วนเอว 1 – 2 ปล้อง  และมีลักษณะที่แตกต่างกัน เราจึงมองเห็นสัดส่วนของร่างกายมดมี 4 ส่วนคือ ส่วนหัว (  head )  ส่วนอก ( alitrunk )  ส่วนเอว ( pedicel ) […]
Read more

ไหม (Silkworm: Bombyx mori L.)

ไหม (Silkworm: Bombyx mori L.) ตัวเต็มวัยคือผีเสื้อ จะมีปีก 2 ปีก สีขาวปนเทาไม่มีปากแต่มีรอยเหมือนปาก ผีเสื้อตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ บินไกลไม่ได้ ลักษณะการบินเหมือนการกระโดดไกลๆอายุของผีเสื้อไหมมีช่วงเวลาที่สั้นมากภายหลังการผสมพันธุ์และออกไข่แล้วผีเสื้อไหมจะตายรวมเวลาแล้วประมาณ 2-3 วัน ผีเสื้อไหม Bombyx Mori หลังจากที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ประมาณ 250-500 ฟอง ต่อแม่พันธุ์1ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของผีเสื้อ ตัวหนอน หนอนไหมระยะตัวหนอนจะถูกแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ตัวหนอนวัยที่ 1-2 ไข่ไหมจะฟักออกมาเป็นตัวหนอนเล็กๆกินใบหมอนหั่นฝอยละเอียดอยู่ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นจะลอกคราบเพื่อให้ลำตัวยาวโตขึ้น หลังจากการลอกคราบแล้วตัวหนอนไหมจะนอนเหยียดตรง นิ่ง ไม่กินอาหารเป็นเวลา1วัน1คืน เรียกว่า “ไหมนอน” เมื่อครบกำหนดจึงกินอาหารต่อเป็นหนอนระยะที่สอง ประมาณ2-3วัน แล้วลอกคราบอีกครั้ง จากนั้นจะนอนต่อ 1 วัน 1 คืน เมื่อตื่นมาก็จะเป็นหนอนระยะที่สาม ตัวหนอนวัยที่ 3 หนอนวัยนี้จะสามารถกินใบหม่อนทั้งใบไม่ต้องหั่นฝอยระยะนี้ใช้เวลา 3-4 วันหลังจากนั้นจะลอกคราบนอน 1 วัน 1 คืน […]
Read more

At vero eos et accusamus et iusto odio digni goikussimos ducimus qui to bonfo blanditiis praese. Ntium voluum deleniti atque.