Sanipro (Thailand) Co., Ltd.

ซานิโปร มาตรฐานญี่ปุ่น,แม่นยำ,ซื่อสัตย์

 

หากพูดถึงภัยร้ายใกล้ตัวในช่วงฤดูฝน คงจะหนีไม่พ้นสิ่งมีชีวิตที่ถูกเรียกว่า “ยุง” ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดมาอย่างยาวนานที่มนุษย์ทุกคนหนีไม่พ้น ไม่ว่าจะก่อให้เกิดความรำคาญหรือแม้แต่นำโรคมาสู่มนุษย์ นอกจากนี้ยังสามารถพบเจอยุงได้แทบจะทุกสถานที่ ทุกเวลา และนี่ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ เจ็บป่วย จนไปถึงขั้นสียชีวิต

          สำหหรับในประเทศไทยนั้นจะมียุงอยู่ 4 ชนิดหลัก ๆ ที่เป็นพาหะนำโรค ได้แก่ ยุงก้นปล่อง ยุงลาย ยุงรำคาญ และยุงเสือหรือยุงลายเสือ

                                                                                                                                             

  • ยุงรำคาญ เป็นพาหะของโรคไข้สมองอักเสบ และโรคเท้าช้าง มีลำตัวเป็นสีน้ำตาล ปีกใส อาศัยและเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำสกปรก หรือแหล่งน้ำที่เน่าเสียต่างๆ ยุงรำคาญจะวางไข่บนผิวน้ำในลักษณะติดกันเป็นแพ และชอบกัดสัตว์ที่อยู่ตามทุ่งนาอย่าง วัว ควาย มากกว่ากัดคน
  • ยุงลาย เป็นยุงที่พบได้บ่อยในบ้านเรือนทั่วไป เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก รวมไปถึงไข้ซิกา มีลำตัว ส่วนหัว และส่วนนอกเป็นเกล็ดสีดำสลับขาว ปากมีลักษณะยาว ออกหากินตอนกลางวัน ชอบวางไข่บนน้ำนิ่ง และตามแหล่งที่มีน้ำขังต่างๆ โดยยุงลายจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ยุงลายบ้าน และยุงลายสวน
  • ยุงก้นปล่อง คือยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย มีลำตัวเป็นสีน้ำตาล ปีกมีเกล็ดสี พบมากในพื้นที่ป่า ออกหากินในช่วงเย็นเป็นต้นไป โดยยุงก้นปล่องแบ่งออกเป็นชนิดที่เป็นพาหะหลัก ได้แก่ ชนิดไดรัส ชนิดมินิมัส ชนิดแมคคูลาตัส และชนิดที่เป็นพาหะรอง ได้แก่ ชนิดซันไดคัส ชนิดอโคไนตัสและชนิดซูโดวิวโมไร
  • ยุงเสือ หรือยุงลายเสือ เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง มีลักษณะที่แปลกตาและแตกต่างจากยุงชนิดอื่นๆ คือบนลำตัวจะมีลวดลายสีเข้ม บางชนิดมีลวดคล้ายลายเสือ ปีกมีเกล็ดหยาบ มักเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำที่มีวัชพืชน้ำ เช่น หนอง บึง และวางไข่ใต้ผิวน้ำติดตามวัชพืชน้ำต่างๆ ออกหากินในเวลากลางคืน กัดและกินทั้งเลือดของคนและสัตว์

วงจรชีวิตของยุง

ยุงมีการเจริญเติบโตทั้งหมด  4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่, ตัวอ่อน(ลูกน้ำ), ดักแด้(ตัวโม่ง) และตัวต็มวัย โดยวงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่จนไปถึงตัวเต็มวัยประมาณ 8-10 วัน โดยตั้งแต่ระยะไข่จนถึงระยะดักแด้ของยุงจะอาศัยอยู่ในน้ำ

ไข่ : ไข่ยุงแต่ละชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกัน รวมถึงลักษณะการวางไข่ของตัวเมียด้วย อย่างไรก็ตามทุกชนิดจะวางไข่ในในน้ำหรือที่ชื้นแฉะ ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ก่อนจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน โดยไข่ยุงสามารถอยู่ได้ในสภาพแห้งได้หลายเดือนหรือเป็นปี ก่อนจะกลับมาฟักหลังจากไข่ได้รับน้ำ

ลูกน้ำ : ลูกน้ำยุงมีการเจริญเติบโต และลอกคราบทั้งหมด 4 ระยะ โดยจะใช้เวลาประมาณ 5 วัน

ดักแด้ : ตัวโม่งดำรงชีวิตในน้ำโดยจะลอยตัวนิ่ง ๆ อยู่ผิวน้ำ และหายใจรับอากาศโดยตรงผ่านอวัยวะที่เป็นท่อสำหรับหายใจ โดยความพิเศษคือตัวโม่งของยุงสามารถเคลื่อนที่ได้หากถูกรบกวน โดยจะใช้เวลาปนะมาณ 2 วันก่อนลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย

ตัวเต็มวัย : ยุงตัวเต็มวัยหลังออกมาจากดักแด้ก็พร้อมที่จะผสมพันธ์ต่อไป โดยยุงเพศเมียจะวางไข่ในพื้นที่ที่ชื้นแฉะ หรือแหล่งน้ำ เช่น บริเวณที่มีน้ำขัง ภาชนะที่มีน้ำขัง ท่อระบายน้ำ บ่อน้ำนิ่ง เป็นต้น โดยมักจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 26-29 องศาสเซลเซียส และช่วงที่มีความชื้นในอากาศประมาณร้อยละ 50-70

วิธีการป้องกันและกำจัด

  • ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
  • ระบายน้ำไม่ให้เกิดน้ำขัง เพื่อลดประชากรยุง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีประสิทธิภาพการไล่ยุงได้ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
  • ใช้สารเคมีประเภทเทมีฟอส ในการกำจัดตัวอ่อนของยุงในแหล่งน้ำ

ถึงแม้ส่วนใหญ่เราจะไม่พบเจอยุงทุกสายพันธุ์ในชีวิตประจำวัน แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองถูกยุงกัด หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในพื้นที่ที่มียุงชุกชม หมั่นตรวจเช็คและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์เป็นระยะ  

 

 

 

 

 

Previous Post
Newer Post

At vero eos et accusamus et iusto odio digni goikussimos ducimus qui to bonfo blanditiis praese. Ntium voluum deleniti atque.