Sanipro (Thailand) Co., Ltd.

ซานิโปร มาตรฐานญี่ปุ่น,แม่นยำ,ซื่อสัตย์

ไหม (Silkworm: Bombyx mori L.)

ตัวเต็มวัยคือผีเสื้อ จะมีปีก 2 ปีก สีขาวปนเทาไม่มีปากแต่มีรอยเหมือนปาก ผีเสื้อตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ บินไกลไม่ได้ ลักษณะการบินเหมือนการกระโดดไกลๆอายุของผีเสื้อไหมมีช่วงเวลาที่สั้นมากภายหลังการผสมพันธุ์และออกไข่แล้วผีเสื้อไหมจะตายรวมเวลาแล้วประมาณ 2-3 วัน ผีเสื้อไหม Bombyx Mori หลังจากที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ประมาณ 250-500 ฟอง ต่อแม่พันธุ์1ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของผีเสื้อ

ตัวหนอน หนอนไหมระยะตัวหนอนจะถูกแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ตัวหนอนวัยที่ 1-2 ไข่ไหมจะฟักออกมาเป็นตัวหนอนเล็กๆกินใบหมอนหั่นฝอยละเอียดอยู่ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นจะลอกคราบเพื่อให้ลำตัวยาวโตขึ้น หลังจากการลอกคราบแล้วตัวหนอนไหมจะนอนเหยียดตรง นิ่ง ไม่กินอาหารเป็นเวลา1วัน1คืน เรียกว่า “ไหมนอน” เมื่อครบกำหนดจึงกินอาหารต่อเป็นหนอนระยะที่สอง ประมาณ2-3วัน แล้วลอกคราบอีกครั้ง จากนั้นจะนอนต่อ 1 วัน 1 คืน เมื่อตื่นมาก็จะเป็นหนอนระยะที่สาม

ตัวหนอนวัยที่ 3 หนอนวัยนี้จะสามารถกินใบหม่อนทั้งใบไม่ต้องหั่นฝอยระยะนี้ใช้เวลา 3-4 วันหลังจากนั้นจะลอกคราบนอน 1 วัน 1 คืน แล้วจะเข้าสู่ระยะที่สี่

ตัวหนอนระยะที่ 4 นี่จะกินอาหารจำนวนมากโตเร็วใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้ายเพื่อเข้าสู่ระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายใช้เวลาประมาณ 7-8 วันเป็นระยะที่หนอนไหมกินใบหม่อนมากเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีต่อมไหมเกิดขึ้นภายในตัวไหม ทำให้ตัวหนอนไหมมีสีเหลืองเรียกว่า “ไหมสุก” ตัวไหมสุกจะมีลำตัวสั้นและเล็กลงเล็กน้อย ตัวโตใสและหยุดกินใบหมอนเริ่มชูหัวส่ายหาที่ทำรัง ตัวหนอนไหมที่สุกเต็มที่จะถูกเก็บรักษาเข้า “จ่อ” เพื่อชักใยทำรังเป็น ”รังไหม”
ที่นำมาสาวเส้นใย นำไปทอเป็นผ้าไหมนั่นเอง

รังไหม มีลักษณะกลมรี มีทั้งสีขาวและสีเหลืองขึ้นอยู่กับพันธุ์ของรังไหม รังไหมประกอบไปด้วย เส้นใยคือโปรตีนที่แข็งตัวซึ่งตัวไหมหลั่งออกมาจากต่อมที่ศีรษะเรียกว่า Fibroin และมีโปรตีนที่ช่วยยึดให้ติดกันเป็นรังไหมที่เรียกว่า Serricin
ตัวหนอนไหมจะเริ่มชักใยจากข้างนอนเข้าหาตัวเป็นรูปตัววี
ตรงกลางคอดเล็กน้อย ใยไหมนี้จะขับออกมาจากต่อมที่ศีรษะสองต่อม ก่อนชักใยไหมตัวหนอนไหมจะงอตัวเองเข้าเป็นรูปเกือกม้า แล้วยกศีรษะส่ายไปมาเป็นรูปเลข8 จะชักใยออกมาครั้งแรกค่อนข้างยุ่งแล้วค่อยๆเรียงเป็นระเบียบขึ้นทุกที ไหมจะชักใยออกมาทีละสองเส้นพร้อมกัน ยึดติดกันเป็นเส้นเดียวกันโดยขี้ผึ้งหรือ Serricin ที่หุ้มเส้นใยแต่ละเส้น เมื่อแข็งตัวจะยึดติดกันแน่นดูเป็นเส้นเดียวหนอนไหมจะชักใยทำรังเสร็จภายใน 24-72 ชั่วโมง แล้วจะหยุดพัก

ดั กแด้ ภายในรังไหมตัวหนอนมีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา ตัวหนอนจะแข็งแรงและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดูเหมือนไม่มีชีวิต ดักแด้นี้จะนอนอยู่ในรัง 10-12 วัน แล้วลอกคราบพัฒนา ตัวเองอีกครั้งกลายเป็นผีเสื้ออยู่ภายในรัง เมื่อพร้อมก็จะพ่นน้ำลายซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างละลายเจาะรังไหมออกมาสู่โลกภายนอก ดักแด้ไหมเป็นสิ่งหนึ่งที่ได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม นอกจากการนำมาบริโภคโดยตรงแล้ว ยังสามารถนำไปเลี้ยงปลาและสัตว์

อื่น ๆ ทั้งนี้เพราะดักแด้ไหมมีโปรตีนสูง มีวิตามินและเกลือแร่หลายชนิดไขมันที่สกัดได้ยังนำไปผสมเพื่อทำสบู่และเทียนไขที่มีคุณภาพสูง จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันของดักแด้ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสมพบว่า ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสมแต่ละพันธุ์ มีองค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันไม่แตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าดักแด้ไหมมีกรดไลโนเลอิคและกรดไลโนเลนิค ซึ่งกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นกรดไขมันจำเป็นมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ลดไขมันในเลือด ทั้งไตรกรีเซอไรด์ และโคเลสเตอรอล ควบคุมให้ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ- ลดการเกิดโรคหัวใจ ลดการเกิดโรคมะเร็งและป้องกันการสูญเสียน้ำ ต้านรอยย่น และชะลอความแก่ของผิวหนัง

 

Previous Post
Newer Post

At vero eos et accusamus et iusto odio digni goikussimos ducimus qui to bonfo blanditiis praese. Ntium voluum deleniti atque.