ไรฝุ่น สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น มักพบในเครื่องนอน เฟอร์นิเจอร์บุนวม และพรม ที่ไม่ได้ทำความสะอาดมาเป็นเวลานาน ที่อาศัยอยู่ในตามใยผ้า โดยตัวไรฝุ่นจะมีชีวิตอยู่ได้จากการกินเซลล์ผิวหนังเก่า ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพราะมีขนาดประมาณ 0.3 มิลลิเมตร จะสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ตัวไรฝุ่นจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่อาจทำให้เกิดอาการคันหรือระคายเคืองบริเวณผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการไปสัมผัสถูกของเสียจากตัวไรฝุ่น
อาการแพ้ไรฝุ่น ความคล้ายคลึงกับอาการภูมิแพ้ในอากาศอื่นๆ
- จาม
- อาการน้ำมูกไหล
- คันตา น้ำตาไหล
- คันจมูก ปาก หรือคอ
- ไอ
- หายใจถี่
- หายใจดังเสียงฮืด ๆ
- แน่นหน้าอก
อาการแพ้ไรฝุ่นที่ผิวหนัง
ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ อย่างผิวหนังแดงและคัน ลมพิษ ผดผื่น อาการเหล่านี้อาจไม่รุนแรงหรือรุนแรงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ส่วนมากจะเกิดกับคนที่สัมผัสหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีไรฝุ่นเป็นเวลานาน สิ่งสำคัญคือต้องลดการสัมผัสกับไรฝุ่น และเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในบ้าน อย่างการใช้เครื่องลดความชื้น ซักผ้าและเครื่องนอนเป็นประจำ การดูดฝุ่นเป็นประจำ หรือการใช้เครื่องฟอกอากาศเป็นประจำ
วิธีรักษาอาการแพ้ไรฝุ่น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของหรือบริเวณต่างๆที่มีฝุ่นสะสม
- การใช้ยาแก้แพ้ชนิดต่างๆเพื่อบรรเทาอาการแพ้แต่ละรูปแบบ
- ล้างจมูกเป็นประจำ ช่วยลดอาการระคายเคืองและน้ำมูกสะสมในโพรงจมูก
- กระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยการค่อยๆทำให้ร่างกายเคยชินกับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
วิธีกำจัดไรฝุ่น
- ซักผ้าปูที่นอนด้วยน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นเป็นประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
- ใช้ผ้าคลุมที่นอน หมอน เวลาที่เราไม่ได้ใช้
- การใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อกรองฝุ่นต่าง ๆ ในอากาศ
- ดูดฝุ่นเป็นประจำโดยใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีแผ่นกรอง HEPA (High Efficiency Particulate Air Filter) เพื่อดักจับไรฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก
- ทำความสะอาดห้อง ปัดกวาดเช็ดถูและจัดของให้มีระเบียบโดยเฉพาะในห้องนอน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่น
- ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศและเปลี่ยนกรองอากาศ
- ซักทำความสะอาดเสื้อผ้า ดูแลความสะอาดในตู้เสื้อผ้าและเก็บเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใส่ออก
- การใช้เครื่องปรับความชื้นในบริเวณที่มีความชื้นสูง เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของไรฝุ่น
- การรักษาระบบระบายอากาศให้ห้องหรือบ้านที่อาศัยอยู่ปลอดโปร่ง