แมลงศัตรูโรงเก็บในประเทศไทยสามารถระบาดได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากประเทศไทยมีความอบอุ่นตลอดทั้งปี ไม่ร้อนจนเกินไปหรือหนาวจนเกินไป แมลงเหล่านี้จึงเติบโตได้ดีและแพร่กระจายได้ง่ายในประเทศไทย
โดยแมลงศัตรูโรงเก็บเป็นแมลงตัวร้ายที่เข้าทำลายผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง ข้าว ธัญพืช อาหารแห้ง เป็นต้น
โดยวันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักกับแมลงศัตรูโรงศัตรูโรงเก็บที่เข้าทำลายหลังเก็บเกี่ยว ซึ่งลักษณะการเข้าทำลายมีดังนี้
- การปฏิบัติเกี่ยวกับเมล็ด (Grain and Seed Processing) หลังการเก็บเกี่ยวมีการนำเมล็ดไปกะเทาะเปลือก ขัดสี คัดแยก ช่วงระยะเวลาปฏิบัติงานนี้มักใช้สถานที่ใกล้กับโรงเก็บ ทำให้แมลงจากโรงเก็บเข้ามาทำลายได้
- ขณะทำการขนส่ง (Transportation) ในการขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่ง อาจมีแมลงตกค้างอยู่ในพาหนะขนส่งนั้น ทำให้แมลงเข้าทำลายในช่วงระยะเวลานี้ได้
- ขณะเก็บรักษา (Storage) ในระหว่างการเก็บรักษาเมล็ดข้าว สภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ มีผลทำให้เมล็ดข้าวเสื่อมคุณภาพ โดยเฉพาะแมลงเมื่อเข้าทำลายแล้วจะแพร่ระบาดทำความเสียหายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากแมลงเหล่านี้เข้าทำลาย
- สูญเสียน้ำหนัก (Weight Loss) แมลงสามารถกินอาหารได้มากกว่าน้ำหนักตัวหลายเท่า เมื่อแพร่ระบาดมากจะทำให้สูญเสียน้ำหนักมาก
- สูญเสียคุณค่าทางอาหาร (Food Loss) เมื่อแมลงเข้าทำลายจะทำให้เมล็ดสูญเสียคุณค่าทางอาหารไป โดยแมลงชอบทำลายส่วนคัพภะ (embryo) มากกว่าส่วน endosperm เนื่องจากส่วนคัพภะจะนุ่มกว่าส่วน endosperm
- สูญเสียความงอก (Seed Germination Loss) เนื่องจากแมลงชอบทำลายส่วนคัพภะ เป็นผลทำให้เมล็ดสูญเสียความงอก หรือบางเมล็ดถูกทำลายน้อย แม้จะงอกแต่สภาพของเมล็ดที่งอกจะไม่สมบูรณ์ และไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
- สูญเสียคุณภาพ (Quality Loss) ทำให้ความสม่ำเสมอของเมล็ดเสียไป การเข้าไปปะปนของแมลง และของเสียจากแมลง ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น คุณภาพเปลี่ยนไป นอกจากนี้ซากหรือชิ้นส่วนของแมลงที่ติดอยู่กับอาหารทำให้เกิดการปนเปื้อน และคุณภาพเมล็ดเสียหาย เมื่อแมลงเข้าทำลายในปริมาณมากทำให้ความชื้นในกองเมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น มีผลทำให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต
- สูญเสียเงิน (Money Loss) เมื่อแมลงเข้าทำลาย ทำให้น้ำหนักของผลผลิตลดลง จึงมีผลทำให้สูญเสียรายได้ นอกจากนี้คุณภาพที่เสียไปยังทำให้ราคาลดต่ำลงด้วย
- สูญเสียชื่อเสียง (Loss of Goodwill) ผลิตผลที่แมลงเข้าทำลายจะดูสกปรก และเสื่อมคุณภาพ ทำให้ผู้ซื้อและผู้บริโภคเสื่อมความเชื่อถือและไว้ใจในสินค้า
การป้องกันแมลงศัตรูโรงเก็บในโกดังหรือโรงงาน
- ตรวจสอบตามรอยแตกตามพนังและเพดานของอาคาร และช่องเปิดต่าง ๆ หากพบต้องรีบแก้ไขเพื่อไม่ให้เป็นทางเข้าของเเมลง และตรวจสอบให้แน่นอนก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบเข้ามาเก็บไว้ในโกดังเก็บสินค้า
- ไม่วางผลิตภัณฑ์ให้สัมผัสกับพื้นโดยตรง เพื่อลดการเข้าทำลายของแมลงและลดการปนเปื้อนของแมลงที่ติดไปกับสินค้า
- การรม (Fumigation) ด้วยสารเคมีเพื่อกำจัดแมลงที่ติดมากับเมล็ดพืช สารเหล่านี้ ได้แก่ ฟอสฟีนซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการรมเมล็ดข้าวสาร และข้าวเปลือก สารเหล่านี้สามารถป้องกัน และกำจัดสิ่งอื่นๆที่ทำลายเมล็ดพืชได้ด้วย
- ใช้กับดักฟีโรโมน (Pheromone) ในการดักจับตัวเต็มวัย
1.มอดยาสูบ
7.มอดหนวดยาว