แมลงก้นกระดก
เป็นแมลงขนาดเล็ก 7-8 มม. อาศัยอยู่ตามพื้นที่ที่มีความอับชื้น มักจะออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน จะพบมากในช่วงปลายฤดูฝน ซึ่งแมลงก้นกระดกสามารถปลอยสารที่เรียกว่า Pederin ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง และทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังของผู้ที่สัมผัส
วงจรชีวิต
แมลงก้นกระดกมีการเจริญเติบโตทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่, ตัวอ่อน, ดักแด้ และตัวต็มวัย โดยวงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่จนไปถึงตัวเต็มวัยประมาณ 22-50 วัน โดยตั้งแต่ระยะไข่จนถึงระยะดักแด้ของยุงจะอาศัยอยู่ในน้ำ
ไข่ : ไข่ลักษณะเป็นวงรี สีเหลืองส้ม ใช้เวลาประมาณ 3-9 วัน
ลูกน้ำ : ตัวอ่อนของแมลงก้นกระดกมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ยาว มีเหลืองอ่อน ใช้เวลาประมาณ 4-36 วัน
ดักแด้ : มีลักษณะป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในระยะแรกจะมีสีเหลืองจากนั้นจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้มหรือแดง และจะดำลงก่อนที่ตัวเต็มวัยจะออกมา
ตัวเต็มวัย : แมลงก้นกระดกเมียจะวางไข่ประมาณ 50-100 ฟอง ตัวเต็มวัยมักจะชอบไปอยู่ตามพื้นที่ที่มีความอับชื้น
อาการของผู้สัมผัสแมลงก้นกระดก
- มีอาการแสบร้อน เริ่มเกิดผื่นเมื่อผ่านไปประมาณ 24 ชั่วโมง
- เป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน หรือมีรอยไหม้ลักษณะเป็นทางยาว
- บางรายอาจเกิดผื่นบริเวณตามข้อพับ
- อาจมีตุ่มน้ำ ตุ่มพอง และตุ่มหนอง ใน 2-3 วัน คล้ายตุ่มน้ำจากโรคงูสวัด
- กรณีที่เกิดผื่นบริเวณกว้าง อาจมีไข้ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- หากโดนบริเวณตา หรือเข้าตา อาจทำให้ตาบอดได้
การดูแลหลังสัมผัส และการป้องกัน
หากสัมผัสถูกตัวของแมลงก้นกระดก ให้รีบล้างน้ำด้วยน้ำเปล่าหรือสบู่ และประคบเย็นในบริเวณที่สัมผัสโดนแมลง โดยผื่นจากแมลงก้นกระดก จะตกสะเก็ดและหายได้เอง ใน 7-10 วัน แต่จะทิ้งรอยดำไว้สักระยะหนึ่ง
คำแนะนำในการป้องกันแมลงก้นกระดก
- ไม่ควรโดนหรือสัมผัสตัวแมลง
- ควรหลีกเลี่ยงการปัดหรือสัมผัสโดยตรง
- ควรปัดอุปกรณ์บนที่นอน สะบัดเสื้อผ้า อุปกรณ์ที่สวมใส่ เพื่อป้องกันแมลงซ่อนตัว