สารเคมีทุกชนิดมีทั้งข้อดีเเละข้อเสียเราจึงต้องเรียนรู้ทั้งวิธีใช้งานเเละวิธีป้องกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งานเเละความปลอดภัยของผู้ใช้งานเอง
สารเคมีการใช้งานแบบฉีดพ่น ส่วนใหญ่สารเคมีที่ใช้มักเป็นสารเคมีที่มีการตกค้าง การย่อยสลายจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสารเคมีและสภาพอากาศ สารเคมีจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อสัมผัสกับตัวแมลงโดยตรง เนื่องจากสารเคมีจะมีการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยเป็นตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นตัวย่อยสารสื่อประสาท ส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดกระแสประสาทมากผิดปกติ จนทำให้แมลงตาย
กลุ่มสารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุข
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
- กลุ่มออร์แกโนคลอรีน (Organochlorine Group) เป็นสารสังเคราะห์มีการออกฤทธิ์ยาวนาน มีพิษสูงสลายตัวช้า มักตกค้างในธรรมชาติ ทำลายสภาพแวดล้อม
- กลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (Organophosphate Group) เป็นสารสังเคราะห์กลุ่มใหญ่ที่สุด มีพิษน้อยกว่าและมีฤทธิ์ค้างน้อยกว่ากลุ่มออร์แกโนคลอรีน
- กลุ่มคาร์บาเมท (Carbamate Group) เป็นสารสังเคราะห์กลุ่มเล็ก ๆ มีพิษค่อนข้างสูง
- กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid Group) เป็นสารสังเคราะห์ที่พบว่า ปลอดภัยที่สุด สลายตัวเร็ว มีพิษสูงต่อแมลงแต่มีพิษต่ำต่อสัตว์เลือดอุ่น
- สารเคมีกลุ่มใหม่
- กลุ่มคลอโรนิโคตินีล (Chloronicotinyl)
- กลุ่มเฟนนีลไฮดราโซล (Phenylhydrazone)
- กลุ่มไพโรล (Pyrrole)
ประโยชน์
- สะดวกต่อการใช้งาน
- กระจายตัวได้ดี
- ทำความสะอาดง่าย
ข้อควรระวัง
- ควรใช้สารเคมีโดยผู้เชี่ยวชาญ
- ไม่ควรฉีดในพื้นที่มีเด็ก สัตว์เลี้ยง และมีการผลิตอาหาร
- ภาชนะบรรจุ เมื่อใช้หมดแล้วต้องทำลายห้าม นำ ไปบรรจุสิ่งอื่นใด และห้ามนำไปเผาไฟ จะเกิดอันตราย
- ห้ามทิ้งภาชนะหรือล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ หรือ เครื่องพ่นลงในแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะ
ตัวอย่าง
รูปตัวอย่าง : Temprid SC
Temprid SC : สารในการออกฤทธิ์ Imidacloprid 21% และ Beta-cyfluthrin 10.5% ฉีดพ่นในพื้นที่แห้ง ที่มีการล้างทำความสะอาด
ประเภทแมลง : ปลวก, มด, แมลงสาบ, ยุง และสัตว์มีเปลือก
รูปตัวอย่าง : Safrotin MC
Safrotin MC : สารในการออกฤทธิ์ Propetamphos 20% ฉีดพ่นเคลือบกำแพง ใต้โต๊ะ ผนัง บริเวณที่คนหรือสัตว์ไม่สามารถสัมผัสได้ (ห้ามฉีดในห้องที่มีเด็กและผู้ป่วย ห้ามฉีดแบบฟุ้งกระจาย ห้ามฉีดบนที่นอน)
ประเภทแมลง : แมลงสาบและตัวเรือด