Sanipro (Thailand) Co., Ltd.

ซานิโปร มาตรฐานญี่ปุ่น,แม่นยำ,ซื่อสัตย์

Lepidoptera เป็นแมลงที่มีแผ่นปีกมีลวดลายและสีสันสวยงามจนได้รับฉายาว่า “ราชินีแห่งแมลง” คำว่า Lepidoptera มีที่มาจากภาษากรีก 2 คำ รวมกัน คือ คำว่า “lepis” ซึ่งแปลว่า “เกล็ด” (scale) และ คำว่า “pteron” ที่แปลว่า “ปีก” (wing) ดังนั้น Lepidoptera จึงแปลว่า “ปีกที่มีเกล็ด” ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของแมลงในอันดับผีเสื้อที่ทำให้พวกมันแตกต่างจากแมลงในอันดับอื่น ๆ โดยแผ่นปีกแบบบางใสของผีเสื้อทั้ง 2 คู่ ถูกปกคลุมไปด้วยเกล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก  และเกล็ดเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดลวดลายและสีสันสวยงามและแตกต่างกันไปในผีเสื้อแต่ละชนิด ด้านใต้ของส่วนหัว มีงวง (proboscis) ไว้สำหรับดูดของเหลวจากดอกไม้ ใน Order นี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) และผีเสื้อกลางคืน (Moths)  ทั้ง 2 กลุ่ม มักอาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่คล้ายกัน

วงจรชีวิต

1.ไข่(egg) มีรูปร่าง สีและขนาดแตกต่างกันไปหลายแบบ โดยตัวเมียจะบินหาต้นพืชที่เป็นอาหารของตัวหนอนเพื่อวางไข่

มีอายุประมาณ 2 – 10 วัน

2.หนอน(caterpillar) หนอนผีเสื้อ มีอายุประมาณ 7 – 117 วัน โดนกินใบพืชอาหารที่ความเฉพาะเจาะจง และมีการลอกคราบเพื่อขยายขนาดประมาณ 4-6 ครั้ง ก่อนจะเข่าสู่ระยะถัดไป

3.ดักแด้ ระยะดักแด้(Pupa) ใช้เวลาประมาณ 6 – 51 วัน ไม่มีการเคลื่อนไหวและไม่กินอาหารใดๆ รูปร่างของดักแด้มีหลายแบบแปรผันไปตามชนิดของผีเสื้อ

4.ระยะตัวเต็มวัย(Adult) ตัวเต็มวัยมีอายุตั้งแต่ 5 – 15 วัน จนอาจถึง 1 ปีในบางชนิด ระยะนี้จะดูดกินของเหลวเป็นหลัก เช่น น้ำหวานจากดอกไม้ ผลไม้เน่า มูลสัตว์ มักพบเห็นผีเสื้อเพศผู้ดูดกินเกลือแร่ตามโป่งสัตว์หรือริมน้ำ

 

ผีเสื้อกลางวันกับผีเสื้อกลางคืน

          ผีเสื้อจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือผีเสื้อกลางกวันและผีเสื้อกลางคืน หากมองแบบผิวเผินจะพบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีความใกล้เคียงกัน แต่ในทางอนุกรมวิธาน ผีเสื้อกลางคืนจะอยู่ใน suporder ที่แตกต่างกับผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อที่พบอยู่บนโลกส่วนมากจะเป็นผีเสื้อกลาวคืน ส่วนผีเสื้อกลางวันมีเพียงประมาณ 10 % ของผีเสื้อทั้งหมด

ผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) ลำตัวค่อนข้างเรียวยาว ไม่มีขนปกคลุม หรือมีเพียงเล็กน้อย หนวดส่วนปลายจะพองโตคล้ายกระบอง ปีกจะเป็นแผ่นเยื่อบาง ๆ ถูกปกคลุมไปด้วยเกล็ดขนาดเล็ก และเกล็ดเหล่านี้ก่อให้เกิดลวดลายและมีสีสันสวยงาม แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด เวลาเกาะพักผีเสื้อกลางวันมักหุบปีกขึ้นตั้งตรงและแนบชิดกัน  ออกหากินในตอนกลางวัน เช่น ผีเสื้อเณรจิ๋ว เป็นต้น

  • ผีเสื้อเณรจิ๋ว

ชื่อสามัญ : Small Grass Yellow

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurema brigitta

ผีเสื้อชนิดนี้มีสีเหลือง แยกได้ยากเนื่องจากจุดที่ใช้จำแนกในธรรมชาติไม่เด่นชัด และมีขนาดเล็กผีเสื้อเณรธรรมดาขอบปีกหน้าด้านบนเป็นสีดำมีความยาวถึงประมาณครึ่งหนึ่งของขอบปีกด้านล่างภายในเซลปีกหน้าด้านท้องมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กมาก 2 จุด สามารถพบได้ตลอดทั้งปี

 

ผีเสื้อกลางคืน (Moths) ลำตัวอ้วนกลมและสั้นกว่าลำตัวของผีเสื้อกลางวัน ลำตัวมีขนปกคลุมค่อนข้างหนา หนวดมีรูปร่างหลายแบบ เช่น เส้นด้าย ฟันหวี พู่ขนนก เคียว แต่บางชนิดจะมีลักษณะคล้ายกับผีเสื้อกลางวัน ปีกถูกปกคลุมไปด้วยเกล็ด มีสีค่อนข้างหมองคล้ำ เวลาเกาะพักผีเสื้อกลางคืนมักกางปีกราบหรือลู่ลงคล้ายกระโจม แต่บางชนิดหุบปีกขึ้นตั้งตรงคล้ายกับผีเสื้อกลางวัน เช่น ผีเสื้อข้าวสาร ผีเสื้อข้าวเปลือก เป็นต้น

  • ผีเสื้อข้าวสาร

ชื่อสามัญ : Rich Moth

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corcyra cephalonica

เป็นแมลงศัตรูของข้าวสาร โดยเฉพาะข้าวสารที่เก็บไว้เป็นเวลานาน ทำให้ข้าวสารเสื่อมคุณภาพจนไม่สามารถบริโภคได้ เกิดจากตัวอ่อนของผีเสื้อข้าวสารไปชักใยอยู่ระหว่างเมล็ดข้าว ทำให้ข้าวสารติดกันเป็นก้อน และตัวอ่อนจะอาศัยแทะเล็มข้าวสารอยู่ภายในใยนั้น นอกจากนี้ยังขับถ่ายของเสียออกมาเป็นเม็ดเล็กๆ กระจายอยู่เต็มกองข้าว ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลางสีน้ำตาลอ่อน ไข่จะฟักใน 4-5 วัน เป็นตัวอ่อนสีขาวปนเทา ตัวอ่อนจะสร้างใยปกคลุมตัวเองไว้ ระยะตัวอ่อน 28-41 วัน จึงเข้าดักแด้ในปลอกที่สร้างขึ้นภายหลัง ระยะดักแด้

6-13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตใช้เวลา 30-40 วัน

พืชอาหาร

ข้าวสาร ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพด โกโก้ ผลไม้แห้ง ขนมปัง แป้ง และเนื้อมะพร้าว

 

 

 

  • ผีเสื้อข้าวเปลือก

ชื่อสามัญ : Angoumois grain moth

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sitotroga cerealella Oliver

เป็นผีเสื้อที่มีขนาดเล็กมาก  สีน้ำตาลอ่อน ปีกหลังมีสีออกเทา ตามปีกมีขนยาว ๆ เป็นแผงซึ่งมีความยาวมากกว่าปีก เป็นแมลงศัตรูสำคัญที่สุดของข้าวเปลือก เข้าทำลายโดยการวางไข่ที่เมล็ดข้าวเปลือก ตั้งแต่ยังอยู่ในนา ตัวอ่อนจะอาศัย และกัดกินภายในเมล็ดจนเหลือแต่เปลือก เมื่อเข้าไปในยุ้งฉาง หรือโรงสี จะเห็นผีเสื้อข้าวเปลือกบินหรือเกาะอยู่บนกองข้าว ดังนั้นการทำลายจึงมักจะมีเฉพาะส่วนบนของกองข้าวเท่านั้น การทำลายของผีเสื้อข้าวเปลือกจะสูงเมื่อทำการเก็บเกี่ยวล่าช้า ไข่มีสีขาวรูปยาวรี และจะฟักภายใน 4-6 วัน ตัวอ่อนจะเจาะเข้าไปอาศัยในเมล็ด ประมาณ 26-35 วัน ก็จะเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 3-6 วัน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะผิวเมล็ดออกมา ทำให้เมล็ดเป็นรู และมีชีวิตอยู่ได้เพียง 3-7 วัน วงจรชีวิตใช้เวลา 36-42 วัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Previous Post
Newer Post

At vero eos et accusamus et iusto odio digni goikussimos ducimus qui to bonfo blanditiis praese. Ntium voluum deleniti atque.