ปลวก (Termites)
ปลวกเป็นแมลงสังคมชั้นสูง มีการกระจายอยู่แทบจะทุกพื้นที่บนโลก ยกเว้นบริเวณแอนตาร์กติกา ในหนึ่งรังของปลวกจะมีการแบ่งวรรณะ อาทิ ปลวกงาน ปลวกทหาร ปลวกราชาและราชินี โดยทั่วไปปลวกจะกินอาหารจากซากพืช เซลลูโลสจากไม้ ดิน หรือมูลสัตว์ จัดได้ว่าปลวกเป็นผู้บริโภคซากพืชและซากสัตว์ที่สำคัญในระบบนิเวศ ในบางพื้นที่พื้นที่มีการนำปลวกมาบริโภคเป็นอาหารและยารักษาโรค บางชนิดเป็นสัตว์รังควานสร้างความเสียหายให้กับสิ่งปลูกสร้าง พืชไร่ และพืชสวน โดยปลวกจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน และปลวกที่อาศัยอยู่ในไม้
ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน
เป็นปลวกอีกชนิดหนึ่งที่หลายๆ กำลังเผชิญอยู่ จะมีรังอยู่ใต้ดินหรือบนดิน อาศัยการขึ้นมาเหนือดินเพื่อหาอาหาร สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่
- ปลวกใต้ดิน (Subterranean Termites)
- ปลวกที่อาศัยอยู่ในจอมปลวก (Mound-Building Termites)
- ปลวกที่อาศัยอยู่ในรังขนาดเล็ก (Carton-Nest Building Termites)
ปลวกที่อาศัยอยู่ในไม้
มักจะหลบซ่อนและกัดกินไม้จนเป็นโพรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่
- ปลวกไม้แห้ง (Dry-Wood Termites)
- ปลวกไม้ชื้น (Damp-Wood Termites)
ไม่ว่าจะเป็นปลวกชนิดที่อาศัยอยู่ในไม้หรือในดิน ล้วนกินไม้และสิ่งที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบเป็นอาหาร ซึ่งหมายความว่า ปลวกทุกชนิดสามารถสร้างความเสียหายให้กับบ้านของเราได้ แต่ความเสียหายประมาณ 90% ในประเทศไทย เกิดจากปลวกสายพันธุ์ Coptotermes
วงจรชีวิต
ระยะไข่ : ปลวกจะว่างไข่ในของเหลวที่สามารถยึดไข่ไว้ด้วยกัน ปลวกตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 30,000 ฟอง ต่อวัน โดยมีลักษณะไข่จะมีสีขาวขนาดเล็ก
ระยะตัวอ่อน : ตัวอ่อนจะมีสีขาวซีด ตัวอ่อนจะมีการลอกคราบเมื่อโตเต็มที่ในการลอกคราบครั้งสุดท้าย จะมีฮอร์โมนมาป็นตัวช่วยในการลอกคราบ เพื่อจำแนกในการพัฒนาไปในแต่ละวรรณะ
ระยะตัวเต็มวัย : เมื่อเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย จะมีการแบ่งอาณาเขตตามวรรณะต่าง ๆ
- ปลวกงาน ปลวกส่วนใหญ่จะพัฒนาไปเป็นปลวกงาน ซึ่งเป็นวรรณะที่ใหญที่สุดในรังของปลวก ปลวกงานไม่มีตา หรือปีก และมีขนาดใหญ่กว่าตัวอ่อน
- ปลวกทหาร : ปลวกในวรรณะนี้จะทำหน้าที่คอยปกป้องรัง มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษเพื่อใช้ในการป้องกันตัว
ความสามารถในการสืบพันธุ์ : ในรังของปลวก มีเพียงวรรณะราชาและราชินีที่สามารถสืบพันธุ์ได้
- ปลวกราชา: ตัวผู้ที่ผสมพันธุ์เสร็จแล้วเรียกว่าปลวกราชา ปลวกราชาจะไม่มีการเปลี่ยนขนาด
- ปลวกราชินี: ปลวกราชินีจะมีขนาดใหญ่กว่าปลวกราชา เนื่องจากรังไข่ของปลวกราชินีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปลวกราชินีสามารถวางไข่ได้เป็นจำนวนมาก