Sanipro (Thailand) Co., Ltd.

ซานิโปร มาตรฐานญี่ปุ่น,แม่นยำ,ซื่อสัตย์

ด้วงหนวดยาว (Longhorned beetle)

จัดอยู่ใน Family Cerambycidae ด้วงหนวดยาวมีลักษณะที่ใช้ในการจัดจำแนกคือ หนวด มีลักษณะหนวดแบบเส้นด้าย (Filiform) เรียวยาว ความยาวของหนวดจะมีลักษณะยาวเท่ากับลำตัว หรือบางชนิดยาวมากกว่าลำตัวเป็นสองเท่า หนวดจะยาวงุ้มไปทางด้านหลังเป็นลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัด จัดเป็นแมลงศัตรูสำคัญทางการเกษตรและป่าไม้ เพราะระยะตัวหนอนของด้วงหนวดยาวนั้นจะเจาะชอนไชกินเนื้อไม้ของต้นไม้

ตัวอย่างของด้วงหนวดยาว

ด้วงหนวดยาวหนามจุดนูนดำ (Batocera rufomaculata)

ด้วงชนิดนี้มีความยาวประมาณ 49-56 มม. มีสีน้ำตาล ส่วนด้านบนของปีกมีจุดสีเหลือง เพศเมียมีหนวดยาวเท่าๆกับ ขนาดลำตัวของมันเอง มีอายุประมาณ 4-6 เดือน และมักวางไข่ในช่วงเวลากลางคืน ไข่มีลักษณะคล้ายเม็ดข้าวข้าวสาร สามารถวางไข่ได้ถึง 200 ฟอง หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดยาว 8-10เซนติเมตร มีรยะหนอน 280 วัน จากนั้นจะเจาะเข้าเนื้อไม้แข็ง หดตัวและเข้าดักแด้จนออกมาเป็นตัวเต็มวัยจึงจะออกสู่ภายนอกได้

ลักษณะการเข้าทำลาย

ตัวเต็มวัยจะกัดกินเปลือกของลำต้น จนกลายเป็นโพรง ส่งผลให้ท่อน้ำเลี้ยงถูกทำลายไปด้วยทำให้ต้นไม้ยืนต้นตายได้ ส่วนตัวหนอนกัดกินชอนไชอยู่ใต้เปลือกไม้และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกเป็นระยะ ๆ

การป้องกันกำจัด

  • วางกับดักแสงไฟช่วงเลา 1 ทุ่มเป็นต้นไป
  • ใช้ตาข่ายถี่ พันหลวมๆไว้ที่บริเวณรอบลำต้น เพื่อป้องกันการวางไข่ของตัวเต็มวัย
  • ถากเปลือกไม้บริเวณที่มีรอยทำลายออกก่อน แล้วพ่นด้วย โอโซพรีน อัตราการใช้ 500-800 ซีซี. (อัตราการใช้ที่แนะนำต่อน้ำ200 ลิตร)

ด้วงหนวดยาวอ้อย (Dorysthenes buqueti)

หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน : ด้วงหนวดยาวอ้อย

ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ 25 – 40 มม. กว้าง 10 – 15 มม. ตัวเมียตรงปลายปล้องสุดท้ายของส่วนท้องมีลักษณะมนส่วนตัวผู้ตรงปลายเว้าและมีขนที่หน้าอก บริเวณอกกว้างกว่าส่วนท้องเล็กน้อย หัวกะโหลกมีสีน้ำตาลและมีขนาดเล็กกว่าลำตัวมาก ปากขนาดเล็กแต่มีเขี้ยวแข็งแรง

ลักษณะการเข้าทำลาย

หนอนเริ่มเข้าทำลายอ้อยตั้งแต่ระยะท่อนพันธุ์ โดยเจาะไชเข้าไปกัดกินเนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์ มีผลทำให้ท่อนพันธุ์อ้อยไม่งอก หน่ออ้อยอายุ 1-3 เดือน จะถูกกัดตรงส่วนโคนที่ติดกับเหง้าให้ขาดออกทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย เมื่ออ้อยโตเป็นลำอาการเริ่มแรกพบว่า กาบใบและใบอ้อยแห้งมากกว่าปกติ ตั้งแต่ใบล่างขึ้นไปจนแห้งตายไปทั้งต้นหรือทั้งกออ้อย ขณะที่หนอนยังเล็กจะกัดกินอยู่ตรงบริเวณเหง้าอ้อย ซึ่งมีผลทำให้การส่งน้ำและอาหารจากรากไปสู่ลำต้นและใบน้อยลง เมื่อหนอนโตขึ้นขนาดยาวประมาณ 40 มม. ก็จะเริ่มเจาะไชจากส่วนโคนลำต้นอ้อยขึ้นไปเพื่อกินเนื้ออ้อยจนบางครั้งทำให้ลำต้นอ้อยเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก บางต้นหนอนเจาะสูงขึ้นไปจากส่วนโคนถึง 40 ซม. จนทำให้ลำต้นอ้อยหักล้มและแห้งตาย

การป้องกันกำจัด

– ส่งเสริมให้มีการนำตัวหนอนไปประกอบอาหาร

– ท่อนพันธุ์ควรมีการฉีดพ่นด้วยสารแขวนลอยของเชื้อราเขียว

– อาจใช้สารเคมี เช่น โรยในร่องอ้อย endosuldan + fenobucarb (Thiocorb 4.5 % G) อัตรา 5 กก.ต่อไร่ แล้วจึงกลบร่องหรือพ่นด้วยสาร fipronil (Asscend 5 % SC) อัตรา 80 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วกลบดิน

Previous Post
Newer Post

At vero eos et accusamus et iusto odio digni goikussimos ducimus qui to bonfo blanditiis praese. Ntium voluum deleniti atque.